top of page

เจาะลึกทฤษฎี Dow Theory ต้นแบบการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค


ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ถือเป็นหนึ่งในทฤษฎีที่สำคัญมากที่สุดของการลงทุนแบบเทคนิค เป็นหลักการที่สำคัญของการใช้ Technical เพราะทฤษฎีนี้ได้เป็นทฤษฎีต้นแบบ ที่ถูกนำไปต่อยอดเพื่อใช้ในการลงทุนอีกหลายเทคนิค ดังนั้นการรู้จักทฤษฎีดาวไว้จึงถือเป็นการวางรากฐานของการลงทุนสายเทคนิคคอลที่ดี เพื่อนำไปสู่การประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในอนาคต
ทฤษฎี Dow Theory ถูกคิดค้นโดยนาย Charles Henry Dow เมื่อ 100 ปีที่แล้ว ซึ่งที่มาเกิดจากนาย Charles Henry Dow ได้เขียนบทความเกี่ยวกับวิธีการมองแนวโน้มของตลาดที่เผยแพร่บนหนังสือพิมพ์ ต่อมามีผู้สนใจแนวคิดดังกล่าว จึงได้รวบรวมข้อมูล และแนวคิดของนาย Charles Henry Dow ไว้เป็นหลักทฤษฎี ซึ่งมีทั้งหมด 6 ข้อ
1. ราคาที่เกิดขึ้น คือสิ่งที่สะท้อนทุกอย่างในตลาดไว้หมดแล้ว
เชื่อว่าทุกอย่างถูกสะท้อนออกมาผ่านราคาและกราฟทั้งหมดแล้ว ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ไม่ว่าจะอารมณ์คนในตลาดหรือ อัตราเงินเฟ้อ การขึ้นดอกเบี้ย ข่าวดี ข่าวร้ายแค่ไหน เชื่อว่าทุกอย่างสะท้อนออกมาผ่านราคาและกราฟทั้งหมดแล้ว

2. ราคาเคลื่อนไหวอย่างเป็นแนวโน้ม
เมื่อมองในภาพใหญ่จะเห็นว่าราคาเคลื่อนไหวอย่างเป็นแนวโน้ม โดยแบ่งแนวโน้มออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. แนวโน้มหลัก คือแนวโน้มระยะยาวหรือตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป
2. แนวโน้มรอง คือแนวโน้มระยะกลางหรือตั้งแต่ 3 สัปดาห์ ถึง 3 เดือน
3. แนวโน้มย่อย คือแนวโน้มระยะสั้นหรือ 2 ถึง 3 สัปดาห์

3. แต่ละแนวโน้ม มีช่วงสำคัญอยู่ 3 ช่วง
ช่วงที่ 1 ช่วงสะสม หรือ ช่วงเก็บของ ช่วงนี้คือระยะที่นักลงทุนที่มีความรู้มารวมตัว และเริ่มซื้อหรือขายสินทรัพย์ ราคายังไม่เคลื่อนไหวหรือได้รับผลกระทบจากข่าวใด ๆ มากนัก เพราะปริมาณของนักลงทุนค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับจำนวนของนักลงทุนในตลาดทั้งหมด
ช่วงที่ 2 ช่วงที่ราคาพุ่งขึ้น ช่วงนี้เป็นช่วงที่ตลาดจับความเคลื่อนไหวของนักลงทุนและคนทั่วไปที่เริ่มหันมามีส่วนร่วมในตลาดมากขึ้น ทำให้มีผู้คนเริ่มติดตามแนวโน้มในระยะนี้มากขึ้น เพราะทุกอย่างชัดเจนแล้ว ถึงแม้ราคาจะแพงไปสักหน่อย
ช่วงที่ 3 ช่วงหุ้นเลิกเล่น หรือช่วงแจกของ หลังจากผ่านการซื้อสินทรัพย์ และเก็งกำไรมาแล้ว ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่นักลงทุนที่มีความรู้เริ่มขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ออกสู่ตลาด


4. ค่าเฉลี่ยของตลาดทั้งหมดต้องสอดคล้องกัน
เมื่อเกิดสัญญาแนวโน้มไม่ว่าจะในทิศทางใด ราคาที่เกี่ยวข้องจะต้องไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งประสิทธิภาพของตลาดขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพรวมของนักลงทุนที่เข้าร่วมในตลาด หากผู้เข้าร่วมในตลาดส่วนหนึ่งสนใจลงทุน ส่วนที่เหลือก็ต้องสนใจด้วย เพื่อยืนยันแนวโน้มดังกล่าว เพราะมุมมองหรือประสิทธิภาพที่ต่างกันอาจนำไปสู่การพลิกกลับของแนวโน้มในตลาดได้

5. ปริมาณวอลุ่มการซื้อขายต้องสัมพันธ์กันแนวโน้ม
ข้อนี้มีความหมายตรงตัว คือ ถ้าเป็นแนวโน้มขาขึ้น ราคาเพิ่มขึ้น ปริมาณวอลุ่มควรสูงตามไปในทิศทางเดียวกัน แต่ถ้าหากเป็นแนวโน้มขาขึ้น แล้ววอลุ่มลดลง อาจคาการณ์ได้ว่าราคานี้อาจไม่ใช่ราคาจริง

6. แนวโน้มจะไปต่อเรื่อย ๆ จนกว่ามีสัญญาณกลับตัวที่ชัดเจน

วิธีดูแนวโน้ม (Trend) มีทั้งหมด 3 วิธี คือ



1. แนวโน้มขาขึ้น ราคาจะทำ Higher High (ทำ High ใหม่สูงกว่า High เดิม) และทำ Higher Low (ทำ Low ใหม่สูงขึ้นกว่า Low เดิม)








2. แนวโน้มขาลง ราคาจะทำ Lower High (ทำ High ใหม่ต่ำลงกว่า High เดิม) และทำ Lower Low (ทำ Low ใหม่ต่ำลงกว่า Low เดิม)







3. แนวโน้มออกข้าง หรือ Sideway คือ แนวโน้มที่ยังไม่ชัดเจน หรือ พูดง่าย ๆ ราคาเคลื่อนที่ขึ้นลงไปด้านข้าง ไม่ได้เลือกทิศทาง



7,586 views0 comments

บทความแนะนำ

bottom of page